เรื่องราวของการซื้อขายในโลกยุคปัจจุบันนี้เป็นเรื่องราวที่สามารถทำได้อย่างเสรี ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็สามารถซื้อ-ขายกันข้ามโลกเหมือนกับว่าโลกของเรานั้นแคบนิดเดียว หรือราวกับว่าเราเสกสิ่งของเหล่านั้นขึ้นมายังไงอย่างนั้น แต่ด้วยความอิสระเสรีทางการซื้อการขายนี้เองก็ทำให้เกิดข้อตกลงทางการค้าขายระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องด้วยเกิดกลุ่มพ่อค้าหัวใสในการหากำไรจากการซื้อขายของระหว่างประเทศจนเหล่าสินค้าที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นเกิดการชะลอตัวจนไม่สามารถซื้อขายได้โดยง่าย ดังนั้นจึงเกิดสนธิสัญญาทางการค้าต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และหนึ่งในสนธิสัญญาที่ว่านั้นก็คือ ฉันทมติแห่งวอชิงตัน (Washington Consensus) ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกันกับเจ้ามติตัวนี้ว่าจะเข้ามามีบทบาททางการค้าอย่างไรและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากช่องโหว่ต่างๆ ได้อย่างไรซึ่งถ้าพร้อมแล้วเราก็ว่ารู้จักกับ Washington Consensus ไปพร้อมกันเลย
ฉันทมติแห่งวอชิงตัน (Washington Consensus) ที่เราได้ยินชื่อว่านี้เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจหนึ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1980 ซึ่งคำคำนี้เป็นศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นจาก จอห์น วิลเลียมสัน (John Williamson) ที่ได้ใช้เรียกนโยบายทางเศรษฐกิจนี้ขึ้น ซึ่งบทบาทหน้าที่หลักของนโยบายนี้ก็ว่าด้วยเรื่องของหลัก 10 ประการของเศรษฐกิจนั่นก็คือ
- เรื่องวินัยทางการคลัง ที่ว่าด้วยเรื่องการลดงบขาดดุล
- เรื่องลำดับความสำคัญของรายจ่ายที่รัฐต้องเสีย ว่าด้วยเรื่องการให้ความสำคัญในสิ่งที่ต้องเร่งพัฒนาก่อนเรื่องที่ไม่จำเป็นเรื่องอื่น อาทิเช่น การใช้เงินอุดหนุนที่ไร้ประสิทธิภาพ
- เรื่องการเปลี่ยนแปลงภาษีอากร ให้เพิ่มอัตราส่วนที่ต้องเก็บให้มากขึ้นแต่ให้เหมาะสม
- เรื่องอัตราดอกเบี้ย ที่ควรจะเป็นไปตามกลไกการตลาด
- เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ที่ต้องให้ประโยชน์ต่อการส่งออก
- เรื่องการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ โดยการทำลายกำแพงภาษี
- เรื่องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
- เรื่องลดบทบาทรัฐบาลและเพิ่มบทบาทให้เอกชนให้เป็นการค้าเสรีมากขึ้น
- เรื่องลดการควบคุมสถาบันการเงิน เพื่อลดเงินทุน
- เรื่องการแยกให้ชัดเจนในเรื่องของกรรมสิทธิ์
จากนโยบายนี้ก็ส่งผลในเรื่องของเศรษฐกิจระยะยาวอีกด้วย นั่นก็คือวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว จนเกิดปัญหาทางโครงสร้างจนเกิดปัญหาบานปลาย ซึ่งในท้ายที่สุดนโยบายนี้ก็จำเป็นที่จะถูกเลิกใช้ไปในที่สุด เรื่องนี้ก็ส่งผลให้เห็นว่าไม่ว่าในอดีตนโยบายนี้จะดีเพียงใดแต่นโยบายนั้นก็จำเป็นที่จะต้องมีความสอดคล้องกับความเป็นไปของในแต่ละยุคนั้นๆ ด้วย